ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Sipsang’s Biology Home

Sipsang’s Biology Home   Inteligence home for rising your wisdom!
สวัสดีนักเรียนทั่วโลกครับ การเรียนรู้ในโลกออนไลน์เป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีวันจบสิ้น  ขอให้นักเรียนสนุกกับการเรียนรู้และที่สำคัญที่สุดคือ

1. นำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้มากที่สุด และใช้ความรู้ใหม่ในการพัฒนาตนเอง
2. บอกต่อความรู้ที่ได้สู่ผู้อื่นที่เขาไม่รู้
3. หาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ…และอย่าหยุดที่จะเรียนรู้
4. ตรวจสอบสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง
5. ทำซ้ำๆ จากข้อ 1-5
ต้อนรับครับขอให้มีความสุขในโลกชีววิทยา  ไม่มีครูที่ดีที่สุด…เพราะครูที่ดีที่สุดไม่ใช่ใครที่ไหน  มองไปที่ตนเองครับ และขอ      ให้นักเรียนสนุกกับการเรียนรู้สนุกกับการใช้ชีวิต

โพสท์ใน Uncategorized | ติดป้ายกำกับ , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | 1 ความเห็น

คำศัพท์ 40 คำที่จะออกสอบ Final ชีววิทยา 1 เรื่องการแบ่งเซลล์ และการสืบพันธุ์
จำนวน 30 ข้อ ( คะแนนวัดผล  15 คะแนน )

  1. Interphase
  2. Prophase
  3. อสุจิ
  4. Telophase
  5. ไส้เดือนดิน
  6. ต่อมลูกหมาก
  7. ดาวทะเล
  8. ต่อมคาวเปอร์
  9. Parthenogenesis
  10. Prophase I
  11. Anaphase II
  12. Allantoises
  13. Binary fission
  14. Spermatogonium II
  15. คลิตอริส
  16. Budding
  17. Fetus
  18. เยื่อวิเทลลีน
  19. รก
  20. Metaphase I
  21. Anaphase I
  22. ถุงน้ำคร่ำ
  23. Anaphase
  24. สายสะดือ
  25. ปากช่องคลอด
  26. คอร์ปัสลูเที่ยม
  27. Morula
  28. Endometrium
  29. Metaphase
  30. ปากมดลูก
  31. Secondary oocyte
  32. เม็ดแมงลัก
  33. การถ่ายฝากตัวอ่อน
  34. Blastula
  35. ท่อนำไข่
  36. Metaphase II
  37. Cleavage
  38. Prophase II
  39. ICSI
  40. Gastrulation
เขียนบน โดย Sipsang's Blog | ใส่ความเห็น

มาร่วมโหวต The Science Star #2 บทเพลง ความคิด วิทยาศาสตร์

การโหวต The Science Star 2

คะแนนดอกไม้จากรอบคัดเลือก  (สะสมไว้แล้ว)
คะแนนโหวตจาก wordpress  1000 คะแนน  [โหวตด้านล่างนี้]
ดอกไม้รอบชิงชนะเลิศ  ดอกละ  5 คะแนน ดอกใหญ่ 20 คะแนน
โหวตจาก Postcard (จำหน่ายที่ซุ้มอำนวยการ) ใบละ 2.5 คะแนน
โปสการ์ดทุกใบ มีสิทธิ์จับรางวัล

โหวตให้ The Science Star  1 %  คิดเป็น 10 คะแนน


โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

โครงงานชีววิทยาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) ถือเป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยทุกคนเรียนรู้และแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนพบคำตอบหรือข้อสรุป สรุปเป็นผังง่ายๆดังนี้
รูปภาพ

ขั้นตอนของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
(ที่มา : http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#02)

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific method)
1. ขั้นสังเกตเพื่อระบุปัญหา  คือการระบุปัญหา  หรือสิ่งที่ต้องการศึกษา  และกำหนด      ขอบเขตของปัญหา
2. ขั้นตั้งสมมติฐาน  คือการคิดคำตอบที่คาดหวังว่าควรจะเป็น  หรือการคาดเดาคำตอบ  ที่จะได้รับ
3. ขั้นการรวบรวมข้อมูล  คือการรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบ  สมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าถูกหรือผิด โดยมีหลักฐานยืนยัน อาจทำได้โดยการสังเกต หรือการทดลอง
4. ขั้นสรุปผล  คือการสรุปว่าจะปฏิเสธ หรือยอมรับสมมติฐาน ตามหลักเหตุและผล     เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหา

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วย 5 ส่วน ดังนี้

ข้อที่ 1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา

ข้อที่ 2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

ข้อที่ 3. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ ดังนี้

  1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลติ และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
  2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
  3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล

ข้อที่ 4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน 2 เงื่อนไข ดังนี้

  1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
  2. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

ข้อที่ 5. แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี

นั่นคือ หลักแนวคิด และแนวทางเพื่อการปฏิบัติ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นบุคคล หรือองค์กรต่างๆ สามารถปฏิบัติตามได้

รูปภาพ

โครงงงานชีววิทยาบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้ศึกษาหรือนักเรียนจำเป็นต้องนำกรอบของความรู้ความเข้าใจทั้งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกรอบความคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นกรอบวิธีในการศึกษา  นอกจากนักเรียนจะต้องมีจิตวิทยาศาสตร์แล้ว  นักเรียนจะต้องมีความรู้ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถ่องแท้  การทำโครงงานตามหัวข้อหลักเหล่านี้  ให้นักเรียนไปหัดตั้งคำถามจากหัวข้อหลักแล้วจะได้คำถามออกมาหลายคำถามมากมาย  เลือกคำถามที่ออกนอกกรอบ  สร้างสรรค์ ภายใต้การค้นคว้าหาข้อมูลอย่างรอบคอบ  โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนกรอบแนวทาง ให้เราสามารถนำไปใช้หรือนำผลของการทำโครงงานไปเผยแพร่ในวงกว้างได้   การจะทำโครงงานให้สำเร็จและบังเกิดผลดี หากขาดเศรษฐกิจพอเพียง  ก็จะทำให้งานนั้นเสร็จได้ยาก  อนึ่งการศึกษาทางด้านชีววิทยาเป็นการศึกษาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต ซึ่งนักเรียนจะต้องใช้ทักษะกระบวนการต่างๆ ในการทำโครงงานจนเกิดความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์  ผู้สอนคาดหวังว่านักเรียนจะเข้าใจชีววิทยา  จากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  และมีกรอบของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่สามารถทำให้นักเรียนนำไปใช้ได้และอยู่รอดในสังคมอย่างงปรกติสุข  โดยหัวข้อโครงงานหลักแบ่งเป็น 10 หัวข้อตามแผนภาพด้านล่างนี้รูปภาพ

แนวทางการทำโครงงานชีววิทยาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1. นักเรียนลองตั้งปัญหา….เป็นอันดับแรก  อาจตั้งหลายๆปัญหาก็ได้  ปัญหานั้นขอให้ตั้งในเชิงสร้างสรรค์   ถ้าเป็นปัญหาที่รู้คำตอบแล้วก็ไม่ต้องตั้ง  เช่น  ถั่วงอกที่เพาะโดยไม่ให้โดนแสงจะมีการผลิตใบสีเขียวได้น้อยหรือไม่มีสีเขียว เป็นต้น  (แบบนี้ไม่ควรตั้งคำถามเพราะเรารู้คำตอบอยู่แล้ว)
2. นักเรียนศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อตอบคำถามในข้อ 1  ถ้าตอบได้ ให้ตั้งคำถามใหม่……..
3. ได้คำถามที่น่าสนใจจากข้อ 2  และเมื่อหาข้อมูลเพิ่มก็ยังไม่สามารถตอบคำถามนั้นได้
4. นำคำถามมาระบุตัวแปรทั้ง 3 ตัวแปรต้น  ตัวแปรตาม ตัวแปรควบคุม  พร้อมระบุสมมติฐาน
5. ออกแบบการทดลอง ….ขณะที่ออกแบบการทดลองก็ให้หาข้อมูลเพิ่มเติมถึงวิธีการทดลอง  เทคนิควิธีที่จะใช้  วัสดุอุปกรณ์  และตารางบันทึกผลการทดลอง  อย่าลืมถ่ายรูป จำไว้ว่าเวลามันผ่านไปเราย้อนกลับมาถ่ายรูปทีหลังไม่ได้….. ถ่ายไปจะใช้ไม่ใช้เราค่อยมาเลือก  เวลาถ่ายรูปเขียนป้ายข้อมูลให้ชัดเจน  วันเวลาที่ถ่าย  เพื่อจะได้ไม่นำรูปที่ผิดวันเวลามาใช้ประกอบในรูปเล่มรายงาน
6. ทำการทดลอง และเก็บผลการทดลอง  ควรมีความรัดกุม ในการชั่ง  ตวง วัด  ไม่ใช้การกะประมาณ  เช่นเวลาตวงสารที่เป็นของเหลวควรใช้กระบอกตวงมีหน่าวเป็นมิลลิลิตร  ไม่ใช่เอาไปชั่งเป็นและมีหน่วยเป็นกรัม  เป็นต้น  การจดบันทึกต้องมีความยุติธรรม  ห้ามมีความลำเอียงในความคิดของตัวเองเด็ดขาด  บันทึกผลการทดลองต้องให้ถูกวิธี  ถูกเวลา  และถูกตัวแปร  ข้อมูลที่เก็บไปต้องสามารถนำไปใช้ตอบสมมติฐานได้ว่าสมมติฐานที่ตั้งงไว้เป็นจริงหรือไม่  โดยผลการทดลองอาจแสดงเป็นกราฟหรือตาราง แล้วให้นำข้อมูลที่เป็นข้อมูลดิบอาจใส่ไว้ในภาคผนวก
7. สรุปผลการทดลอง  ควรสรุปว่าผลการทดลองนั้นทำให้สมมติฐานเป็นจริงหรือไม่  โดยไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ให้เราเอาความรู้จากเอกสารที่หามา  หรืองานวิจัยข้างเคียงหรือที่เกี่ยวข้องยกมาอ้างด้วย  เพื่อทำให้การสรุปผลการทดลองของเรามีความน่าเชื่อถือ  ไม่ใช่ยกคำพูดมาลอยๆ
8. การนำไปเผยแพร่  โครงงานทุกโครงงานถือเป็นโครงงานที่เป็นประโยชน์แม้จะได้ผลตามสมมติฐานหรือไม่  ให้รายงานไปตามจริง  เมื่อเผยแพร่…..สิ่งที่ได้จากกระบวนการทั้งหมด…จะถูกเขียนในรูปแบบของรายงานเชิงวิชาการ (5 บท) หรือบทคัดย่อก็ได้  เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาและนำความรู้ของเราไปศึกษาและเป็นแหล่งอ้างอิงต่อไป
9. ความรู้จะไม่มีวันสิ้นสุดตราบที่มีการสร้างสรรค์โครงงานใหม่ๆ จากการต่อยอดความรู้เดิม
10. ขอให้นักเรียนมีความสุขกับการทำโครงงาน โดยมีความอยากรู้อยากเห็นเป็นที่ตั้ง และสืบสวนสอบสวนโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์และหลักการของเหตุและผลในการทำโครงงาน
11. อย่าลืมจดค่าใช้ง่ายที่ต้องใช้ในการทำโครงงานด้วย เพราะการทำบัญชีนั้นสำคัญมาก
อย่าลืมว่าเราทำโครงงานในกรอบของเศรษฐกิจพอเพียง  การลงทุนต้องเกิดความคุ้มค่าในแง่ของความยั่งยืน  ใช้เงินอย่างมีความพอประมาณ  มีเหตุมีผล  และมีภูมิคุ้มกันในตัวเอง  และสามารถนำโครงงานที่มีประโยชน์ไปดัดแปลงให้เหมาะสมในการดำรงชีวิตของตนและเป็นแบบอย่างให้แก่คนอื่นได้

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

โครงงานชีววิทยาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) ถือเป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยทุกคนเรียนรู้และแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนพบคำตอบหรือข้อสรุป สรุปเป็นผังง่ายๆดังนี้ 
รูปภาพ

ขั้นตอนของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
 (ที่มา : http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#02)

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific method)
1. ขั้นสังเกตเพื่อระบุปัญหา  คือการระบุปัญหา  หรือสิ่งที่ต้องการศึกษา  และกำหนด      ขอบเขตของปัญหา   
2. ขั้นตั้งสมมติฐาน  คือการคิดคำตอบที่คาดหวังว่าควรจะเป็น  หรือการคาดเดาคำตอบ  ที่จะได้รับ 
3. ขั้นการรวบรวมข้อมูล  คือการรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบ  สมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าถูกหรือผิด โดยมีหลักฐานยืนยัน อาจทำได้โดยการสังเกต หรือการทดลอง 
4. ขั้นสรุปผล  คือการสรุปว่าจะปฏิเสธ หรือยอมรับสมมติฐาน ตามหลักเหตุและผล     เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหา

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วย 5 ส่วน ดังนี้

ข้อที่ 1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา

ข้อที่ 2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

ข้อที่ 3. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ ดังนี้

  1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลติ และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
  2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
  3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล

ข้อที่ 4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน 2 เงื่อนไข ดังนี้

  1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
  2. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

ข้อที่ 5. แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี

นั่นคือ หลักแนวคิด และแนวทางเพื่อการปฏิบัติ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นบุคคล หรือองค์กรต่างๆ สามารถปฏิบัติตามได้

รูปภาพ

 

โครงงงานชีววิทยาบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้ศึกษาหรือนักเรียนจำเป็นต้องนำกรอบของความรู้ความเข้าใจทั้งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกรอบความคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นกรอบวิธีในการศึกษา  นอกจากนักเรียนจะต้องมีจิตวิทยาศาสตร์แล้ว  นักเรียนจะต้องมีความรู้ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถ่องแท้  การทำโครงงานตามหัวข้อหลักเหล่านี้  ให้นักเรียนไปหัดตั้งคำถามจากหัวข้อหลักแล้วจะได้คำถามออกมาหลายคำถามมากมาย  เลือกคำถามที่ออกนอกกรอบ  สร้างสรรค์ ภายใต้การค้นคว้าหาข้อมูลอย่างรอบคอบ  โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนกรอบแนวทาง ให้เราสามารถนำไปใช้หรือนำผลของการทำโครงงานไปเผยแพร่ในวงกว้างได้   การจะทำโครงงานให้สำเร็จและบังเกิดผลดี หากขาดเศรษฐกิจพอเพียง  ก็จะทำให้งานนั้นเสร็จได้ยาก  อนึ่งการศึกษาทางด้านชีววิทยาเป็นการศึกษาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต ซึ่งนักเรียนจะต้องใช้ทักษะกระบวนการต่างๆ ในการทำโครงงานจนเกิดความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์  ผู้สอนคาดหวังว่านักเรียนจะเข้าใจชีววิทยา  จากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  และมีกรอบของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่สามารถทำให้นักเรียนนำไปใช้ได้และอยู่รอดในสังคมอย่างงปรกติสุข  โดยหัวข้อโครงงานหลักแบ่งเป็น 10 หัวข้อตามแผนภาพด้านล่างนี้รูปภาพ

แนวทางการทำโครงงาน
1. นักเรียนลองตั้งปัญหา….เป็นอันดับแรก  อาจตั้งหลายๆปัญหาก็ได้  ปัญหานั้นขอให้ตั้งในเชิงสร้างสรรค์   ถ้าเป็นปัญหาที่รู้คำตอบแล้วก็ไม่ต้องตั้ง  เช่น  ถั่วงอกที่เพาะโดยไม่ให้โดนแสงจะมีการผลิตใบสีเขียวได้น้อยหรือไม่มีสีเขียว เป็นต้น  (แบบนี้ไม่ควรตั้งคำถามเพราะเรารู้คำตอบอยู่แล้ว)
2. นักเรียนศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อตอบคำถามในข้อ 1  ถ้าตอบได้ ให้ตั้งคำถามใหม่……..
3. ได้คำถามที่น่าสนใจจากข้อ 2  และเมื่อหาข้อมูลเพิ่มก็ยังไม่สามารถตอบคำถามนั้นได้
4. นำคำถามมาระบุตัวแปรทั้ง 3 ตัวแปรต้น  ตัวแปรตาม ตัวแปรควบคุม  พร้อมระบุสมมติฐาน
5. ออกแบบการทดลอง ….ขณะที่ออกแบบการทดลองก็ให้หาข้อมูลเพิ่มเติมถึงวิธีการทดลอง  เทคนิควิธีที่จะใช้  วัสดุอุปกรณ์  และตารางบันทึกผลการทดลอง
6. ทำการทดลอง และเก็บผลการทดลอง  ควรมีความรัดกุม ในการชั่ง  ตวง วัด  ไม่ใช้การกะประมาณ  เช่นเวลาตวงสารที่เป็นของเหลวควรใช้กระบอกตวงมีหน่าวเป็นมิลลิลิตร  ไม่ใช่เอาไปชั่งเป็นและมีหน่วยเป็นกรัม  เป็นต้น  การจดบันทึกต้องมีความยุติธรรม  ห้ามมีความลำเอียงในความคิดของตัวเองเด็ดขาด  บันทึกผลการทดลองต้องให้ถูกวิธี  ถูกเวลา  และถูกตัวแปร  ข้อมูลที่เก็บไปต้องสามารถนำไปใช้ตอบสมมติฐานได้ว่าสมมติฐานที่ตั้งงไว้เป็นจริงหรือไม่  โดยผลการทดลองอาจแสดงเป็นกราฟหรือตาราง แล้วให้นำข้อมูลที่เป็นข้อมูลดิบอาจใส่ไว้ในภาคผนวก
7. สรุปผลการทดลอง  ควรสรุปว่าผลการทดลองนั้นทำให้สมมติฐานเป็นจริงหรือไม่  โดยไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ให้เราเอาความรู้จากเอกสารที่หามา  หรืองานวิจัยข้างเคียงหรือที่เกี่ยวข้องยกมาอ้างด้วย  เพื่อทำให้การสรุปผลการทดลองของเรามีความน่าเชื่อถือ  ไม่ใช่ยกคำพูดมาลอยๆ  
8. การนำไปเผยแพร่  โครงงานทุกโครงงานถือเป็นโครงงานที่เป็นประโยชน์แม้จะได้ผลตามสมมติฐานหรือไม่  ให้รายงานไปตามจริง  เมื่อเผยแพร่…..สิ่งที่ได้จากกระบวนการทั้งหมด…จะถูกเขียนในรูปแบบของรายงานเชิงวิชาการ (5 บท) หรือบทคัดย่อก็ได้  เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาและนำความรู้ของเราไปศึกษาและเป็นแหล่งอ้างอิงต่อไป
9. ความรู้จะไม่มีวันสิ้นสุดตราบที่มีการสร้างสรรค์โครงงานใหม่ๆ จากการต่อยอดความรู้เดิม 
10. ขอให้นักเรียนมีความสุขกับการทำโครงงาน โดยมีความอยากรู้อยากเห็นเป็นที่ตั้ง และสืบสวนสอบสวนโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์และหลักการของเหตุและผลในการทำโครงงาน
11. อย่าลืมจดค่าใช้ง่ายที่ต้องใช้ในการทำโครงงานด้วย เพราะการทำบัญชีนั้นสำคัญมาก

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

การสมัครเพื่อทำข้อสอบออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ให้นักเรียนชั้น ม.4/1-4/4 เข้าไปตามลิงค์ด้านล่างนี้
http://sipsang.examonline.in.th/userpanel/register.php
Applytestตามตัวอย่างด้านบน เป็นการเข้าไปสมัครของนางสาวศศิณัฐนันท์  ชัชวงษ์  ม.4/1 เลขที่ 6 จึงต้องมีการใช้รหัส 4 ตัว กรอกนำหน้าชื่อสกุล  คือ 4106นางสาวศศิณัฐนันท์  ชัชวงษ์  กรอกลงในช่องชื่อ-สกุล   ขอให้นักเรียนทุกคนปฏิบัติตามนี้ให้เพื่อสามารถเข้าไปทำการสอบได้

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

บันทึกประจำวัน 17/05/2556

ให้นักเรียน ม.4/3  และ  ม. 4/1 
แนะนำตัว แนะนำร่ายวิชา  แนะนำเว็บเพจ  และ เฟสบุ๊ค 2. ให้นักเรียนไปดาวโหลดเอกสารประกอบการเรียน ห้อง ม. 4/1 ให้พิมพ์ลงบนปก หน้าปก สีเหลือง ห้อง ม. 4/2 ให้พิมพ์ลงบนปก หน้าปก สีฟ้า ห้อง ม. 4/3 ให้พิมพ์ลงบนปก หน้าปก สีชมพู ห้อง ม. 4/4 ให้พิมพ์ลงบนปก หน้าปก สีเขียว *** ให้นักเรียนกรอกแบบบันทึกผู้เรียนเป็นรายบุคคล ***    

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

บันทึกประจำวัน 16/05/2556

ม.4/4 , 4/2
1. แนะนำตัว แนะนำร่ายวิชา  แนะนำเว็บเพจ  และ เฟสบุ๊ค
2. ให้นักเรียนไปดาวโหลดเอกสารประกอบการเรียน
ห้อง ม. 4/1 ให้พิมพ์ลงบนปก หน้าปก สีเหลือง
ห้อง ม. 4/2 ให้พิมพ์ลงบนปก หน้าปก สีฟ้า
ห้อง ม. 4/3 ให้พิมพ์ลงบนปก หน้าปก สีชมพู
ห้อง ม. 4/4 ให้พิมพ์ลงบนปก หน้าปก สีเขียว

*** ให้นักเรียนกรอกแบบบันทึกผู้เรียนเป็นรายบุคคล ***

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

กิจกรรม Home Room ม. 4/1

Home Room ม. 4/1 เราจะทำอะไรคิดๆๆๆๆๆ
สัปดาห์ที่ 1 กรอกข้อมูลพื้นฐานรายบุคคล ทำความรู้จักเพื่อนรายบุคคล
สัปดาห์ที่ 2 การสอบวัดความถนัดทางการเรียนกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์
สัปดาห์ที่ 3 การสอบวัดความถนัดทางการเรียนกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์
สัปดาห์ที่ 4 ประกาศผลการสอบ และพูดคุยซักถามเพิ่มเติมรายบุคคล
สัปดาห์ที่ 5 CHECK YOURSELF กิจกรรมสำรวจตัวเอง/ พฤติกรรม/วินัย
สัปดาห์ที่ 6 กิจกรรมการวางแผนในการเรียน 
สัปดาห์ที่ 7 ค้นหาความสามารถพิเศษ
สัปดาห์ที่ 8 ปรับทุกข์ ปันสุข กิจกรรมขอฉันพูด 
สัปดาห์ที่ 9 CHECK ความพร้อมก่อนสอบ
สัปดาห์ที่ 10 ——- สอบกลางภาค——–
สัปดาห์ที่ 11 กิจกรรมกระซิบครู (ปรึกษาเรื่องที่อยากปรึกษา)
สัปดาห์ที่ 12 ติดตามปัญหา พฤติกรรม /วินัย
สัปดาห์ที่ 13 ตะโกนสิ่งที่ฉันภูมิใจ รู้สึกดี 
สัปดาห์ที่ 14 ปรึกษาปัญหาด้านการเรียนรายบุคคล
สัปดาห์ที่ 15 โหวตจุดดี โหวตจุดด้อย กำจัดจุดอ่อน สร้างจุดแข็ง
สัปดาห์ที่ 16 Gifted เล่าความรู้สู่เพื่อนๆ
สัปดาห์ที่ 17 Gifted ขอติวเพื่อน Group ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์
สัปดาห์ที่ 18 Gifted ขอติวเพื่อน Group ชีววิทยา เคมี
สัปดาห์ที่ 19 —–ว่าง——-ปรึกษาตามอัธยาศัย———
สัปดาห์ที่ 20 ———-สอบปลายภาค—————–

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

การอบรมการใช้ Facebook และ Youtube เพื่อการเรียนการสอน

เอกสารการอบรม


รูปภาพ1รูปภาพ2

โพสท์ใน Uncategorized | 1 ความเห็น

Anamorphic Art อย่าเชื่อสายตาคุณเด็ดขาด

ก่อนอื่นเราลองไปชมวีดีโอจากยูทูปกันก่อนนะครับ

จากวีดีโอ มีชื่อว่า Amazing Anamorphic Illusions!
Anamorphic Art คือการวาดรูปหรือนำเอาภาพถ่ายที่มีขนาดความสูงหรือสเกลที่ผิดเพี้ยนเกินพอดี มาวางไว้วบนวัสดุสีเรียบ ยกตัวอย่างง่ายๆก็คือ กระดาษขาวธรรมดา แล้วจัดวางตำแหน่งให้ดี ก็จะดูเหมือนว่ามีวัตถุนั้นวางอยู่บนโต๊ะเราจริงๆ แต่พอเดินไปจับมัน กลับพบว่าไม่ใช่ เป็นแค่กระดาษธรรมดา โดยกระแสการทำศิลปะลวงตานี้มีมาได้สักพักแล้ว แต่ที่ทำออกมาแล้วดูสมจริงที่สุดน่าจะเป็นของศิลปินในนามแฝงชื่อ Brusspup เขาได้ถ่ายวีดีโอการทำศิลปะลวงตาลงบน Youtube ไม่น่าเชื่อว่าแค่เวลาไม่นาน สิ่งที่เขาทำก็เป็นที่พูดถึงมากมาย แต่พอเราไปดูแล้วก็สมคำร่ำลือจริงๆ เขาทำให้คนหลายคนเกิดแรงบันดาลใจในการทำศิลปะประเภทนี้ออกมา  เราจึงเอามาใช้ในงาน RSBS Exhibitions 2013 ด้วย  ดังภาพเลยครับ
66983_482170598509635_1518345118_n

โพสท์ใน Uncategorized | ติดป้ายกำกับ , , , | ใส่ความเห็น